หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปรีดาปราโมทย์ ไป KM PDCA PMQA ??? X 2

ป้ายบนเวที โรงแรมโฆษะ


วันที่ 8 - 10 พฤษภาคม 2554  สพฐ. จัดกิจกรรรมการประชุมปฏิบัติการพัฒนาบุคลากร ด้านการจัดการความรู้ สพฐ. จุดภาคอีสาน   ณ โรงแรมโฆษะ  ได้รับเกียรติจาก ที่ปรึกษา สพฐ. ดร.อรทัย มูลคำ บรรยายพิเศษ  วิทยากร อ.กู้เกียรติ ญาติเสมอ ได้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อน PMQA และรายละเอียดเกี่ยวกับการออกแบบแผนการจัดการความรู้ มึนตึบ.. (มาผิดงานรึปล่าวเนี๊ยะ)
ไอทีอีสาน

ประตูเมืองและเซนทรัลทีเพิ่งมีไม่นาน

มุมนักดื่มดูเงียบแต่คึกคักยามค่ำคืน

ปราโมทย์ พละจิต

ปรีดา พงษ์ุวุฒินันท์

วิทยากร กู้เกียรติ

ไม่รู้อารมณ์ไหนนะครับ



วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ก.ก.คัดเลือกครูอัตราจ้าง(เอกคอม)

ด้วยโรงเรียนหนองแดงวิทโยดม  อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี  ได้ประกาศรับสมัครบุคคลทั่วไป

เพื่อจัดจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่ง ครูคอมพิวเตอร์ จำนวน  1   อัตรา  และกำหนดให้มี

การสอบในวันที่  6  พฤษภาคม  2554 ในการนี้ โรงเรียนขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ

ด้านคอมพิวเตอร์  จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์อนุญาตให้ นายปรีดา  พงษ์วุฒินันท์   ศึกษานิเทศก์

ชำนาญการพิเศษ สพป.อด. 2 เป็นกรรมการในการสอบคัดเลือกครั้งนี้ 

กรรมการคัดเลือกครูอัตราจ้าง (ครูคอมพิวเตอร์)

  เป็นการทดสอบภาคปฏิบัติหลังจากที่สอบภาคทฤษฏีมาอย่างหนัก ใช้เวลาในการลงระบบปฏิบัติการ
และลงโปรแกรมต่างๆในเวลา 2 ชั่วโมง
อันดับที่ 1 นายจักรี  สาวงศ์นาม  83.50
อันดับที่ 2 นางสาวเสาวณีย์  ทาปุ๋ย  73.50
อันดับที่ 3 นางสาวกนกอร  ภูครองนาค 67.50
อันดับที่ 4  นางสาวสงกรานต์  บุราณเดช  54.50
อันดับที่ 5  นางสาวปอแดง  ลุนสะแกวงศ์  51.50




วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สพฐ.ทดลองนำร่องตั้งกลุ่มเทคโนโลยี

วิทยากรจาก สทร.
บรรยากาศการประุชุมคณะทำงาน
มุมสวยๆมองจากโรงแรมทองธารา

สพฐ. ตั้งกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในเขตทดลองนำร่อง เขต
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (กพร.)ของสพฐ.ทดลองจัดตั้ง กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพื่อเป็นการ
สนับสนุนการปฎิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการนำ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปใช้ในการบริหารจัดการ
งานสารสนเทศ และการสื่อสาร และไปส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน
ของสถานศึกษาในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้มีความเข้มแข็ง ยิ่งขึ้น โดยทดลอง
นำร่องในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระจายตามภูมิภาค

ห้องกลุ่มเทคโนโลยีและสารสนเทศ สพป.อด.2
บรรยากาศในห้องทำงาน
บุคลากรกลุ่มเทคโนโลยีและการศึกษา
ห้อง Server

งานซ่อมบำรุง
มุมบริการซ่อม
รองรับเทคโนโลยีในอนาคต
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่เป็นเขต นำร่องได้แก่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 2
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรี เขต 2
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สตูล เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุรินทร์ เขต 2
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 (พิษณุโลก และอุตรดิตถ์)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 (นครศรีธรรมราช และพัทลุง)
ตามกรอบการตั้งกลุ่ม ได้กำหนดให้กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ที่ทดลองตั้งใหม่ นี้ มีอัตรากำลัง 8 คน มีกลุ่มย่อย 3 กลุ่มงาน คือ
1.กลุ่มงาน ระบบคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสาร
2.กลุ่มงาน บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.กลุ่มงาน สนับสนุนและให้บริการการจัดการเรียนรู้
ในขณะอัตรากำลังคน ในกลุ่มทดลองนำร่องในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานั้น
มาจากกำลังคนใน กลุ่มต่างๆ ที่เดิมมีงานภารกิจหลัก ปฎิบัติอยู่แล้ว
และสำนักงานเขตพื้นที่ ได้แต่งตั้งให้ คนเหล่านั้น มารับผิดชอบทำงานในเรื่อง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อีกภารกิจ หนึ่ง ด้วย โดยการทำงานนั้น
จะต้องไม่ให้ภารกิจหลักเสียหาย จากนั้น กพร. ได้ตั้งคณะทำงานขึ้น มา 2 คณะ
เพื่อจัดทำเอกสาร คู่มือการปฎิบัติงานในกลุ่ม และ จัดทำกรอบโครงสร้างอัตรากำลัง
กลุ่มเทคโนโลยีฯ ของเขต เมื่อ พฤศจิกายน 2553
และเมื่อวันที่ 13 -16 กุมภาพันธ์ 2554 สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
ได้จัดให้มีการประชุมเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตละ 5 คน
ที่เป็นเขตทดลองนำร่อง ทั้ง 7 เขต ทั้งนี้ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
ตามภารกิจโครงสร้างกรอบอัตรากำลัง รวมถึงการสนับสนุนงบประมาณไปทำงานด้วย 

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ชมวีดีทัศน์ "เสอเพลอโมเดล"

ICT สพป.อด.2

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๒ เป็นเจ้าภาพในการจัดการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและกลุ่ม ICT UD2 อุดรธานี เขต ๒ ได้มีส่วนอย่างยิ่งในการอำนวยการด้านเทคโนโลยีในการจัดการพัฒนาในครั้งนี้สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดการพัฒนาในครั้งนี้เพื่อพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษามีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก..ศ. กำหนดเพื่อให้ผู้เข้ารับการพัฒนาได้เพิ่มพูนความรู้  ทักษะ  เจตคติที่ดี  คุณธรรม  จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพที่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ  เกิดประสิทธิภาพ  ประสิทธิผลและความก้าวหน้าแก่ราชการเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการบริหารสถานศึกษาเชิงบูรณาการตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา
ระบบอินเตอร์เนต


ภาระกิจสำคัญๆของกลุ่ม ICT UD2 ได้แก่ การวางระบบอินเตอร์เนต ระบบอินเตอร์เนตไร้สายภายในห้องประชุม  งานบันทึกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว การตัดต่อภาพและบันทึกเสียง งานนำเสนอสื่อมัลติมีเดียต่างๆ ระบบแสงสีเสียง และอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
เกศินี ชัยโยบัว   ปรีดา พงษ์วุฒินันท์   อดิสรณ์ บุราณรัตน์

มุม ICT

เดชา ศรีโบราณ    ปราโมทย์  พละจิต

สมใจ  ปัญญาตระกูล (โน็ตบุ๊ค)

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ดาวน์โหลดไฟล์

Download  ไฟล์นำเสนอ "เสอเพลอโมเดล" ก่อนเข้าร่วมโครงการ


Download  ไฟล์นำเสนอ "เสอเพลอโมเดล" หลังเข้าร่วมโครงการ


Download  ไฟล์วีีดีทัศน์ "เสอเพลอโมเดล"


Download ไฟล์แบบระบบติดตาม SP2 สตผ.สพฐ. โรงเรียนดีประจำตำบล โรงเรียนชุมชนจำปี

บุคลากร

ปีการศึกษา 2554

ว่าที่ ร้อยตรี พูนศักดิ์  พระรัตนภูมี
รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพ้นที่การศึกษาประุถมศึกษาอุดรธานี เขต ๒

นายณฐกร  ท่อแก้ว
ผู้อำนวยการ กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

นายสุริยนต์  อินทร์อุดม
ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

นายสมใจ  ปัญญาตระกูล
ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

นายปรีดา  พงษ์วุฒินันท์
ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

นายปราโมทย์  พละจิต
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นายวิทยา  อุปัฌชา
ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

นายรัตช์พล  ขวัญสุวรรณ
ลูกจ้างชั่วคราว

นายอดิสรณ์  บุราณรัตน์
ลูกจ้างชั่วคราว



วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สัมมนา




 

ประชุมสัมมนาคณะนิเทศโรงเรียนในฝันหรือ Roving Team จำนวน 650 คน จากทั่วประเทศ 

วันที่ 27-30 เมษายน 2554 ที่จังหวัดกาญจนบุรี

              Roving Team (RT) หรือ หน่วยเคลื่อนที่เร็ว หมายถึง คณะบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ

เฉพาะทาง (สาระในการนิเทศ) มีทักษะและความเชี่ยวชาญการนิเทศ ตลอดจน มีความพร้อม

ที่จะให้การช่วยเหลือผู้ต้องการรับการนิเทศอย่างรวดเร็ว ทันต่อความต้องการ ในที่นี้หมายถึง

คณะบุคคลที่ทำหน้าที่นิเทศโรงเรียนในฝันระดับเขตตรวจราชการ ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์

ผู้บริหาร ครูผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะเรื่องเฉพาะทาง คณะบุคคล

ดังกล่าวได้รับแต่งตั้งจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทำหน้าที่เป็น

ผู้นิเทศ โรงเรียนในฝันในระดับเขตตรวจราชการ (Roving Team) แนวคิดหลักจากความหมาย

ดังกล่าวข้างต้น สอดคล้องกับหลักการนิเทศการศึกษา โดยมีแนวคิดสำคัญที่เป็นพื้นฐานในการ

กำหนดรูปแบบการนิเทศดังนี้

          1.  การพัฒนาทั้งระบบโรงเรียนเพื่อคุณถาพนักเรียนโรงเรียนในฝัน

เป้าหมายที่จะเป็นต้นแบบ” จำเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนพร้อมกัน

ทุกระบบโรงเรียนสู่เป้าหมายเดียวกับคือคุณภาพนักเรียน และเพื่อการ

ขับเคลื่อนที่รวดเร็ว บนพื้นฐานของโรงเรียนที่ต่างกัน มีความจำเป็นต้อง

อาศัยพลังขับเคลื่อน การพัฒนา ด้วยการนิเทศ

          2.  การนิเทศเป็นการพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน (ผู้บริหาร ครู) ให้สามารถปฏิบัติงาน

(บริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน) ที่ส่งผลต่อเป้าหมายอย่าง

มีคุณภาพ (คุณภาพนักเรียน)

 

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พัฒนาก่อนแต่งตั้งรอง ผอ.

การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา 
วันที่ 2-13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ณ โรงแรมอินเตอร์รีสอร์ท อ.หนองแสง จ.อุดรธานี ก็อีกหนึ่งโอกาส 

สพป.อด.2 ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการพัฒนาดังกล่าวโดยมีผู้เข้ารับการพัฒนากว่า 300 คน โดยมี  
นายเสน่ห์ ขาวโต รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิด
การพัฒนาฯ  ชมภาพบรรยากาศการจัดการพัฒนาครับ